แบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า Traction battery

แบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า หรือแบตเตอรี่ในกลุ่ม Traction Battery

     แบตเตอรี่กลุ่มนี้ ประเภทนี้สามารถใช้งานได้กว้างขวาง ในกลุ่ม รถโฟล์คลิฟท์ รถยกไฟฟ้า รถขัดพื้น รถสแตกเกอร์ไฟฟ้า Electric stacker,Electric Pallet Truck เป็นแบตเตอรี่ที่มีอายุการใช้งานยาวนาน มีความทนทานกว่าแบตเตอรี่ทั่วไปเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่รถกอล์ฟ หรือแบตเตอรี่รถยนต์

แบรนด์แบตเตอรี่โฟล์คลิฟยอดนิยม และทำตลาดมาอย่างยาวนานในไทยได้แก่ 3K และ GS YUASA

แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ 3K Traction battery
แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ 3K Traction battery
แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ 3K Traction battery
แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ 3K Traction battery
แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ 3K Traction battery

โฟล์คลิฟท์

ตามมาตรฐานยุโรป IEC 60254 1 แบตเตอรี่ตะกั่วกรดสำหรับรถยกไฟฟ้าถูกนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานสำหรับขับเคลื่อนระบบไฟฟ้าซึ่งรวมถึงยานพาหนะถนนบางประเภทเช่น รถไฟฟ้าทั่วไป รถบรรทุกที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมและอุปกรณ์เครื่องมือจักรกล แบตเตอรี่สามารถมีได้หลายขนาดตั้งแต่ 2 โวลต์เซลล์หรือ 4, 6, 8 และโมโนโพล 12 โวลต์  โดยปกติไม่มีข้อกำหนดว่าโครงสร้างภายในของแบตเตอรี่รถยกนั้นตั้งไว้เท่าไร แต่ขนาดภายนอกถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานเช่น IEC 60254 2 ความจุถูกวัดจากการทดสอบการคายประจุที่กำหนดจากประจุเต็ม 1.7 โวลต์ต่อเซลล์ในระยะเวลา 5 ชั่วโมง (ทดสอบ C5) แบตเตอรี่รถยกนั้นมีทั้งแบตเตอรี่แบบน้ำและแบตเตอรี่แบบแห้ง ทั้งในแบตเตอรี่ 2 โวลต์และมีรูปแบบโครงสร้างเป็น monobloc ในการออกแบบเหล่านี้แผ่นขั้วบวกสามารถเป็นได้ทั้งแผ่นธาตุชนิดแบนและชนิดท่อกลมได้ สำหรับตัวแปร AGM ของโครงสร้าง VRLA เฉพาะแผ่นธาตุแบบแบนเท่านั้นที่มีความเหมาะสมเนื่องจากความต้องการในการรักษาแรงดันไฟฟ้าแบบสม่ำเสมอของแผ่นใยแก้วที่ใช้สำหรับตัวคั่น แบตเตอรี่แบบใช้ท่อกลมที่มีโครงสร้างเป็นแผ่นโดยทั่วไปจะให้อายุการใช้งานที่สูงกว่าการออกแบบแผ่นแบน โครงสร้างท่อ (รูปที่ 2) ช่วยให้มั่นใจได้ว่าวัสดุที่ใช้งานในเชิงบวกนั้นจะยึดติดกับกระดูกสันหลังของโลหะผสมตะกั่วที่เป็นตัวนำในระหว่างรอบการปล่อยประจุที่จุดสูงสุด อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ฉรถยกถูกกำหนดโดยจำนวนรอบการปล่อยประจุสูงสุดตามมาตรฐานซึ่งสามารถทำงานได้จนกว่าจะลดลงเหลือ 80% ของความจุที่กำหนดหรือความจุปกติ

มาดูกันว่าเมื่อไหร่ที่เราควรจะต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าของเรากัน

อายุการใช้งานโดยเฉลี่ยของแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าจะอยู่ที่5ปี  แต่ก็ไม่แนเสมอไป เพราะถ้าคุณมีการดูแลแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าที่ดี อายุการใช้งานแบตเตอรี่โฟล์คลิฟไฟฟ้าก็อาจจะมากกว่านั้น แต่ถ้าคุณใช้งานแบตเตอรี่โฟล์คลิฟไฟฟ้าหนัก และไม่มีการดูแลที่ดี อายุการใช้งานของแบตเตอรี่โฟล์คลิฟไฟฟ้าก็อาจสั้นกว่า5ปีได้

เมื่อแบตเตอรี่โฟล์คลิฟไฟฟ้าเริ่มจะเสีย มันจะมีอาการอะไรบ้างที่เราสามารถสังเกตุเห็นได้

  • แบตเตอรี่โฟล์คลิฟไฟฟ้าจะหมดเร็วกว่าปรกติในรอบการใช้งาน
  • คุณจำเป็นต้องชาร์จแบตเตอรี่โฟล์คลิฟไฟฟ้าบ่อยขึ้นใน1วันการทำงาน
  • คุณสามารถสังเกตุเห็นการสึกกร่อนของแบตธาตุตะกั่วในแบตเตอรี่ได้
  • แบตเตอรี่โฟล์คลิฟไฟฟ้าเริ่มมีควัน หรือไอน้ำกรดออกมาในขณะที่ชาร์จ หรือในขณะที่ใช้งาน (ในรูปแบบนี้ถือว่าอันตรายมากควรรีบเปลี่ยนแบตเตอรี่โฟล์คลิฟไฟฟ้านั้นทันทีหรือเร็วที่สุด)

คู่มือการใช้งานและการบำรุงรักษาแบตเตอรี่สำหรับรถยกไฟฟ้า

[1] แบตเตอรี่

หลีกเลี่ยงการใช้งานหนักจนไฟหมด ถ้าแบตเตอรี่ถูกใช้งานจนรถไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ จะทำให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานสั้นลง ดังนั้นผู้ใช้งานแบตเตอรี่จึงควรปฎิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

 1.1 หยุดใช้งานแบตเตอรี่เมื่อปริมาณไฟแบตเตอรี่เหลือ20-25%ของไฟเต็ม

โดยสามารถดูได้จากตัววัดระดับไฟของแบตเตอรี่ ข้อควรระวัง: ถ้าแบตเตอรี่ถูกใช้งานจนไฟหมดจะทำให้อุณหภูมิของน้ำกรดสูงโดยเฉพาะเซลล์ ที่อยู่ตำแหน่งตรงกลางชุดแบตเตอรี่ เมื่อแบตเตอรี่ถูกใช้งานในลักษณะนี้เป็นประจำ จะทำให้แบตเตอรี่เซลล์ใดเซลล์หนึ่ง เสียก่อนเซลล์อื่นและอายุการใข้งานแบตเตอรี่จะสั้น

 1.2 หยุดใช้งานแบตเตอรี่เมื่อรถยกไฟฟ้าเริ่มอ่อนกำลังลง

ซึ่งค่า ถ.พ. (ค่าความถ่วงจำเพาะ) ของน้ำกรดที่วัดได้จะต่ำกว่า 1.180 ที่อุณหภูมิ 20 องศา โดยสามารถวัดค่า ถ.พ. ดังกล่าวได้โดยใช้ ไฮโดรมิเตอร์ หมายเหตุ กล่องเครื่องมือสำหรับตรวจเช็คแบตเตอรี่ (ไฮโดรมิเตอร์,กรวย,เทอร์มิโนมิเตอร์) จะถูกจัดส่งพร้อมกับแบตเตอรี่ใหม่

1.3 ไม่ครวนำแบตเตอรี่มาชาร์จไฟในช่วงเวลาสั้นๆ ในระหว่างการใช้งานแบตเตอรี่ เพราะจะทำให้การเปลี่ยนแปลงทางเคมีภายในเซลล์แบตเตอรี่ไม่สมบูรณ์และอุณหภูมิของน้ำกรดจะสูงผิดปกติ ส่งผลให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพเร็ว
 1.4 ในกรณีที่ต้องใช้งานแบตเตอรี่ต่อเนื่องมากกว่า 6 ชั่วโมง ควรมีแบตเตอรี่สำรอง ถ้าไม่เช่นนั้นจะทำให้แบตเตอรี่เซลล์ใดเซลล์หนึ่งเสียหรออายุการใช้งานแบตเตอรี่สั้น

 [2] การชาร์จไฟแบตเตอรี่

 2.1 การชาร์จไฟประจำวัน

2.1.1 ต้องชาร์จไฟหลังการใช้งานแบตเตอรี่ตามข้อ 1.1 เนื่องจากการปล่อยให้แบตเตอรี่อยู่ในสภาวะไฟหมด โดยไม่นำไปชาร์จไฟ จะมีผลต่ออายุการใช้งานของแบตเตอรี่และ อุณหภูมิของน้ำกรดในระหว่างการชาร์จไฟจะต้องไม่เกิน 55 องศา

2.1.2 ต้องแน่ใจว่าเสียบปลั๊กไฟแน่นก่อนการชาร์จไฟ เนื่องจากอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความร้อนและประกายไฟได้

2.1.3 ถ้าใช้เครื่องชาร์จอัตโนมัติหรอติดมากับรถ ให้ปฎิบัติตามคู่มือของเครื่องชาร์จนั้น

2.1.4 วิธีตรวจสอบว่าแบตเตอรี่ถูกชาร์จไฟเต็มหรอไม่ สามารถตรวจสอบได้ดังนี้

  • ถ้าชาร์จแบตเตอรี่ด้วย เครื่องชาร์จอัตโนมัติ ให้ทำตามคู่มือของเครื่องชาร์จไฟ (ในกรณีที่ปริมาณไฟเหลือ 20-25% เครื่องชาร์จจะใช้เวลาในการชาร์จไฟกลับให้ได้ 115-120% เป็นเวลา 8-10 ชั่วโมง)

ถ้าชาร์จด้วย เครื่องชาร์จธรรมดา ให้ทำตามข้อ A หรอข้อ B 

A) ชาร์จไฟประมาณ 115-120% ของปริมาณไฟที่ใช้ออกไป ชึ้ง ถ.พ. ที่วัดได้โดยประมาณเมื่อแบตเตอรี่อยู่ในสภาวะที่ถูกชาร์จไฟเต็มสมบูรณ์แล้วเป็นดั่งนี้ 

 อุณหภูมิน้ำกรดขณะวัด (ฺ° C )     20    30     35     40    45    50    55    60
JOS TYPE 1.280 1.273 1.269 1.266 1.262 1.259 1.255 1.252
DIN TYPE 1.300 1.293 1.290 1.286 1.283 1.279 1.276 1.272

B) ถ้าโวล์ทคงที่เป็นเวลาเกิน 1 ชม.หลังจากที่ขึ้นถึงค่าสูงสุดแล้วให้ถือว่าชาร์จไฟเต็ม

 2.2 การชาร์จไฟเพื่อปรับค่า ถ.พ. ของน้ำกรด (Equalizing Charge)

ควรชาร์จไฟเพื่อปรับค่า ถ.พ. เดือนละครั้งตามวิธีดังต่อไปนี้

2.2.1 ถ้าชาร์จไฟด้วยเครื่องชาร์จอันตโนมัติให้ทำตามคู่มือของเครื่องชาร์จไฟ

2.2.2 ถ้าชาร์จดว้ยเครื่องธรรมให้ชาร์จต่ออีก 2-3 ซม.หลังการชาร์จไฟตามปกติแล้ว

2.2.3 แบตเตอรี่ที่ถูกใช้งานหนักควรเพิ่มความถี่ในการชาร์จไฟเพื่อปรับค่า ถ.พ.เป็นเดือนหลัง 2 ครั้ง

2.2.4 แบตเตอรี่ใหม่ทำให้การชาร์จแบบ Equalizing Charge เป็นจำนวน 10 รอบแรกของการใช้งานหลังจากนั้นให้ชาร์จตามปกติ

 [3] ตรวจเช็คระดับน้ำกรด 

3.1 โดยปกติน้ำที่ผสมในน้ำกรดจะสูญเสียไปขณะการชาร์จไฟ ให้ตรวจระดับน้ำกรดอย่างสม่ำเสมอโดยดูจากจุกระบายอากาศ

3.2 ถ้าลูกลอยจุกระบายอากาศอยู่ระดับต่ำสุด ให้เติมน้ำกลั่นทันที (ห้ามเติมน้ำกรด) 

3.3 ปิดจุกระบายอากาศให้แน่นหลังจากเติมน้ำกลั่น แล้วเช็คผิวบนแบตเตอรี่ด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆ

3.4 กรณีเป็นฝาจุกแบบเติมน้ำอัตโนมัติ (Auto Filler) ให้ตรวจสอบดังนี้

3.4.1)ขณะเติมน้ำกลั่นให้ตรวจสอบดูว่ามีรั่วไหลออกมาตามท่อหรอข้อต่อหรอไม่

3.4.2)ให้เปิดฝาจุกขณะเติมน้ำกลั่นเพื่อตรวจสอบ การขึ้น-ลง ของลูกลอย หากพบว่าลูกลอยค้างให้ใช้นิ้วผลักลูกลอยเบาๆ เพื่อแก้ไข

3.4.3)หากพบความผิดปกติให้ทำการแก้ไขหรอแจ้งบริษัทผู้ผลิตเพื่อเข้าการตรวจ สอบและแก้ไข

หมายเหตุ : 1.ควรเติมน้ำกลั่นเมื่อพบว่าระดับน้ำกรดภายในเซลล์แบตเตอรี่เสื่อมเร็ว

2.การเติมน้ำกลั่นจะต้องเติมก่อนชาร์จไฟ

3.ห้ามเติมน้ำกลั่นจนล้น เพราะจะทำให้ค่า ถ.พ.ต่ำผิดปติส่งผลให้                                  แบตเตอรี่เสื่อมสภาพเร็ว

4.ควรตรวจเช็คระดับน้ำกรดภายในเซลล์แบตเตอรี่ทุกครั้งก่อนนำ                                  แบตเตอรี่ไปชาร์จไฟ

 [4] การระบายอากาศ 

เนื่องจากในขณะที่ชาร์จไฟแบตเตอรีจะเกิดก๊าซออกซิเจนและไฮโดรเจน ซึ้งถ้ามีการสะสมของก๊าซดังกล่าวในปริมาณมากและมีสะเก็ดไฟหรอประกายไฟเกิดขึ้นภายใน หรอบริเวณไกล้เคียงพื้นที่ชาร์จแบตเตอรี่ อาจทำให้แบตเตอรี่เกิดการระเบิดได้ ดังนั้นเพื่อหลีกเสี่ยงความเสียหายแบตเตอรี่และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกิดจากการระเบิด พื้นที่ชาร์จแบตเตอรี่จะต้องมีการถ่ายเทอากาศที่ดีและห้ามทำ กิจกรรมใดที่ทำให้เกิดสะเก็ดไฟหรอประกายไฟ ใกล้พื้นที่ชาร์จแบตเตอรี่ เช่น การสูบบุหรี่ การเชื่อ ฯลฯ หมายเหตุ ให้เปิดฝารถโฟล์คลิฟท์ทุกครั้งเมื่อชาร์จแบตเตอรี่บนรถโฟล์คลิฟท์ หรอเปิดฝาถังแบตเตอรี่ทุกครั้งเมื่อทำการชาร์จแบตเตอรี่

 [5] การทำความสะอาดแบตเตอรี่ 

5.1 รักษาแบตเตอรี่ให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไฟรั่วและการผุกร่อนของถังแบตเตอรี่

5.2 ทำความสะอาดแบตเตอรี่ด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆ ทุกครั้งหลังการเติมน้ำกลั่น

5.3 ภายในของฝาจุกซึ้งปกติใส ถ้ามีสิ่งสกปรกให้ถอดออกมาทำความสะอาดด้วยสารที่ใช้ทำความสะอาดตามครัวเรือน

5.4 ถังที่ไม่มีรูระบายน้ำ ให้ทำการดูดน้ำผ่านท่อดูดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

5.5 ควรล้างแบตเตอรี่ ทุก ๆ 3เดือน เพื่อป้องกันไฟรั่ว

 วิธีการล้างแบตเตอรี่ นำแบตเตอรี่ออกจากรถยกไฟฟ้า ปิดฝาจุกแบตเตอรี่ทุกเซลล์ให้แน่น แล้วฉีดน้ำล้างบนชุดแบตเตอรี่เพื่อ ให้น้ำล้างคราบน้ำน้ำกรดอยู่ระหว่างเซลล์ออก ทิ้งแบตเตอรี่ไว้ประมาณ 30 นาทีเพื่อให้น้ำไหลออก

ข้อควรระวัง ควรล้างแบตเตอรี่ในพื้นที่เฉพาเนื่องจากน้ำที่ล้างออกมาจะมีสภาพเป็นกรดเจือจาง

[6] การจัดการกับเศษซากแบตเตอรี่ ที่หมดอายุการใช้งาน

ข้อควรปฎิบัติ 

6.1 ไม่ทิ้งซากแบตเตอรี่ ปะปนกับขยะทั่วไป

6.2 ไม่นำซากแบตเตอรี่ ไปเผา ฝังดิน หรอทิ้งลงแหลางน้ำ

6.3 จัดเก็บไว้ในพื้นที่ ที่มีภาชนะรองรับที่กันการกัดกร่อนของกรดได้ เช่น

พลสติกเพื่อป้องกันการหกรั่วไหล ลงสู่พื้นดินหรือพื้นน้ำ

6.4 ไม่เก็บไว้ในสถานที่อับอากาศ

6.5 ไม่เก็บไว้ใกล้กับจุดที่มีประกายไฟ เพราะอาจจะทำให้เกิดการระเบิดได้

6.6 กำลังทำลายอย่างถูกวิธี ตามกฎหมายกำหนด

ข้อควรระวัง !

1 ข้อควระวังเมื่อแบตเตอรี่ไม่ได้ถูกใช้งาน

อัดไฟเพิ่มตามวิธีการอัดเพื่อปรับความถว่งจำเพาะของน้ำกรดทุกเดือน ๆ ละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้แบตเตอรี่อยู่สภาวะไฟหมดเนื่องจากจะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพ

2 ข้อควรระรดวังน้ำกรด

แบตเตอรี่มีน้ำกรด ถ้ากระเด็นถูกผิวหนังหรอเสื้อผ้า รีบล้างออกด้วยน้ำเปล่า ถ้าเข้าให้ล้างออกด้วยน้ำเปล่าปริมาณมาก ๆแล้วรีบพบแพทย์ทันที

3 ข้อควรระวังในเรื่องอุณหภูมิและอาการผิดปกติของแบตเตอรี่

ถ้าอุณหภูมิของน้ำกรดสูงเกิน 55 องศา ในระหว่างการชาร์จหรือการใช้งานให้หยุดชาร์จหรือหยุดใช้งานแบตเตอรี่ชั่วคราว ถ้าแบตเตอรี่มีควันกลิ่นผิดปกติเกิดขึ้นในขณะชาร์จหรอใช้งาน ให้หยุดชาร์จหรอใช้งานแล้วแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการแก้ไขใน

 4 ข้อควรระวังในการถอดปลั๊กแบตเตอรี่ออกจากอุปกรณ์

ห้ามจับที่ สายไฟแล้วดึง ในขณะถอดปลั๊กโดยเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้ไฟฟ้าลัดวงจร เมื่อถอดปลั๊กแบตเตอรี่ออกจากตู้ชาร์จ หรอถอดออกจากรถโฟล์คลิฟ ให้จับที่ปลั๊กทั้ง2 ข้างให้มั่นคง แล้วถอดออก หรอจับที่ Handle ที่ประกับกับปลั๊กเท่านั้น

แสดงทั้งหมด 3 ผลลัพท์